วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทที่ 2

บทที่ 2 
สรุปท้ายบทที่ 2
   การบริหารงานทางสารสนเทศ ใช่ว่าจะเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องศึกษาถึงโครงสร้างพฤติกรรมองค์กร การบริหารจัดการ และเทคโนโลยี ครั้นเมื่อครบองค์ประกอบดังกล่าวก็จะได้ระบบสารสนเทศ ที่สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   ระบบสารสนเทศ คือระบบที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและนำเสนอรายงานทางสารสนเทศให้แก่ภาคธุรกิจ
   องค์กร ต้องเข้าใจถึงบทบาทสำคัญของระบบสารสนเทศ และพร้อมที่จะอ้าแขนเปิดรับ ด้วยการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้
   ขั้นตอนมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ประกอบไปด้วยกฎเกณฑ์และวิธีการชัดเจนที่นำมาใช้กับการปฏิบัติ หรือที่เรียกว่างานรูทีน โดยพนักงานทุกคนจะต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่กระบวนการสร้างผลผลิตที่ถูกต้องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
   การเมืองภายในองค์กร เป็นเรื่องราวปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรจะสามารถอยู่รอดได้ หากทุกๆคนในองค์กรได้ปฏิบัติตามกรอบนโยบายการบริหารขององค์กร เตารพซึ่งกันและกัน เพื่อลดความขัดแย้ง และเพื่อให้องค์กรสามารถธำรงอยู่ได้สืบไป
   วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงวิธีปฏิบัติในบางสิ่งขององค์กร ที่จะปฏิบัติเหมือนกัน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์กร ซึ่งถือเป็นความเชื่อ ค่านิยม และเป็นการกระทำที่ได้รับการยอมรับทางสังคมภายในองค์กรนั้นๆ
   องค์กรกับสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องกันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งปกติองค์กรยุคใหม่ล้วนเป็นองค์กรระบบเปิด ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาป้อนสิ่งนำเข้า และนำมาประมวลผล จนกระทั่งเป็นสินค้าและส่งออกกลับไปยังสิ่งแวดล้อมหรือผู้บริโภค เช่น แหล่งเงินทุน ผู้ขาย ปัจจัยการผลิต แรงงาน เทคโนโลยี คู่แข่งขัน กฎหมาย และลูกค้า เป็นต้น
โครงสร้างองค์กร จะแสดงถึงระดับความซับซ้อน มาตรฐานการทำงาน และระดับการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น โครงสร้างองค์กรในมหาวิทยาลัย ที่มีการแบ่งออกเป็นคณะ ภาควิชา โดยจะมีผู้บริหารอย่างหัวหน้าสาขา คณบดี รองอธิการบดี และอธิการบดี ตามลำดับสายการบังคับบัญชา
   กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์ หมายถึงแผนการหรือวิธีการที่มีขั้นตอน และถูกคิดค้นขึ้นอย่างมีหลักการ รอบคอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน จนสามารถบรรลุไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ระดับของกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ กลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธระดับหน่วยธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับหน้าที่
   แบบจำลองแรงกดดันในการแข่งขัน ถูกพัฒนาขึ้นโดย ไมเคิล พอร์เตอร์ ที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์คู่แข่งขันทางธุรกิจ เพื่อหาช่องทางหรือโอกาสต่างๆ ในการที่จะให้องค์กรมีชัยเหนือคู่แข่ง อันประกอบด้วยแรงกดดันหลักๆ 5 ประการ ดังนี้
    1. การชิงชัยระหว่างคู่แข่งขัน
    2. ภัยคุกคามจากผู้ค้ารายใหม่
    3. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน
    4. อำนาจการต่อรองของลูกค้า
    5. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต
  การวางแผนกลยุทธ์ในการชิงชัยกับคู่แข่งขัน ประกอบด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
    1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน 
    2. กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง
    3. กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม
    4. กลยุทธ์เพื่อการเจริญเติบโต
    5. กลยุทธ์เสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจ
    6. กลยุทธ์สร้างอุปสรรคผู้มาใหม่
    7. กลยุทธ์เพิ่มต้นทุนเมื่อเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน
    8. กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม
    9. กลยุทธ์สร้างสินค้าและบริการใหม่
    10. กลยุทธ์ปรับปรุงสินค้าและการบริการที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
    11. กลยุทธ์ผูกมัดผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือผู้ซื้อ
    12. กลยุทธ์มุ่งที่ตัวลูกค้า
  โซ่คุณค่า คือลำดับของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การแปรรู) การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ จนกระทั่งส่งมอบให้กับลูกค้า โดยกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมสำคัญที่สามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ
   แบบจำลองโซ่คุณค่าของพอร์เตอร์ ได้จำแนกกิจกรรมสำคัญออกเป็น 2 กิจกรรมด้วยกันคือ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุน
  กิจกรรมหลัก ในแบบจำลองโซ๋คุณค่าของพอร์เตอร์ ประกอบด้วยกิจกรรมทั้ง 5 ดั้งนี้
   1. โลจิสติกส์ขาเข้า
   2. การปฏิบัติการ
   3. โลจิสติกส์ขาออก
   4. การตลาดและการขาย
   5. การบริการลูกค้า
  กิจกรรมสนับสนุน ในแบบจำลองโซ่คุณค่าของพอร์เตอร์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
   1. โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
   2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์
   3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์
    ระบบแบบทันเวลาพอดี หรือ JIT เป็นกลยุทธ์ของส่วนงานคงคลัง ที่พยายามให้สินค้าคงคลังคงเหลือน้อยที่สุด โดยจะทำการผลิตและส่งมอบสินค้าในปริมาณที่ถูกต้อง ทันเวลา และตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ
โลจิสติกส์ เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมถึงการควบคุมกิจกรรม การลำเอียงสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การเคลื่อนย้าย การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า การบริหารต้นทุน และการกระจายสินค้า ด้วยการอำนวยความสะดวกในด้านกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิต จนกระทั่งเป็นสินค้าพร้อมจำหน่ายและกระจายไปถึงผู้บริโภค













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น